การติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด เปรียบเทียบ ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออฟกริด และไฮบริด

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด on grid 

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด คือ ระบบโซล่าเซลล์ ที่มีการเชื่อมขนานสายไฟกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (แม้ว่าจะผลิตเพื่อใช้เอง แต่ไม่ได้ขายไฟคืนให้การไฟฟ้าก็ตาม ถือว่าเป็นระบบออนกริด (on grid) แล้ว)

 

 

ข้อดีของติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด คือ

  1. บ้านพักอาศัยจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้ได้อย่างเพียงพอแน่นอน ไม่ว่าระบบโซล่าเซลล์จะได้รับแสงแดดมากน้อยเพียงใด ในช่วงฝนตก หรือแดดจัดก็ตาม เพราะไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย จะจ่ายไฟฟ้าเข้ามาเสริมพลังงานจากระบบโซล่าเซลล์ สำหรับส่วนที่ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ตลอดเวลา
  2. ถ้าระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้เกินความต้องการใช้ในบ้าน หากเจ้าของบ้านดำเนินการยื่นขายไฟกับการไฟฟ้าฯ ไว้แล้ว ย่อมสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการติดโซล่าเซลล์ คืนเข้าระบบของการไฟฟ้าฯได้ 
  3. อุปกรณ์ต่างๆ ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ on grid บ้าน มีไม่มาก ทำให้ค่าซ่อมบำรุงต่ำ

ข้อเสียของระบบติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด คือ

  1. ถ้าไฟจากการไฟฟ้าดับ ระบบโซล่าเซลล์ on grid ก็จะหยุดทำงานไปด้วย
  2. การเชื่อมขนานระบบโซล่าเซลล์กับระบบของการไฟฟ้าฯ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯ กำหนด และอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบของการไฟฟ้าฯ อีกด้วย

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออฟกริด คือ ระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการติดโซล่าเซลล์จะนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทันที และมีบางส่วนที่เหลือจากการใช้งาน จึงจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และนำมาใช้เมื่อเราเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง

ข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออฟกริด คือ

  1. ค่าใช้จ่ายโดยรวมประหยัดกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่การไฟฟ้าฯ จะต้องขยายเขตการเดินสายไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ
  2. ไม่มีรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้การไฟฟ้าเป็นรายเดือน ทุกๆเดือน
  3. ในกรณีที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าอาจจะ ตก หรือ ดับ อยู่บ่อยครั้ง การใช้ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออฟกริด ช่วยทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านไม่ได้รับความเสียหายจากไฟตก ไฟดับ ที่เกิดขึ้นนี้

ข้อเสีย

  1. ในแง่การลงทุนส่วนบุคคล การติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออฟกริดมีอุปกรณ์มากกว่า ติดตั้งโซล่าเซลล์ on grid ทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านการติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออฟกริด สูงกว่า ระบบออนกริด เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านแบตเตอรี่
  2. หากไม่มีแดดหรือมีฝนตกต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน พลังงานที่สะสมไว้ในแบตเตอรี่อาจจะหมดได้

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ไฮบริด คือระบบโซล่าเซลล์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยรวมข้อดีของโซล่าเซลล์ออนกริด กับโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด กล่าวคือ การติดตั้งโซล่าเซลล์ ไฮบริด จะเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์ กับระบบสายส่งของการไฟฟ้า โดยในช่วงกลางวัน บ้านก็จะใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์เป็นหลัก หากมีพลังงานเหลือ ก็จะกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แต่หากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์ไม่เพียงพอ  ระบบโซล่าเซลล์จะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ก่อน และหากไม่เพียงพอ จึงจะดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ มาใช้สำหรับส่วนที่ขาด 

ข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์ ไฮบริด คือ

  1. ระบบไฟฟ้าจะมีความเสถียรมาก เพราะเท่ากับว่า บ้านมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าทั้งหมด 3 แหล่ง คือ ระบบโซล่าเซลล์ + แบตเตอรี่ + ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ) เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  2. สามารถบริหารแหล่งจ่ายพลังงาน เพื่อใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดได้ (เช่น ตอนกลางวันไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้ามีราคาแพง เราสามารถตั้งให้บ้านใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์หรือแบตเตอรี่ก่อนใช้ไฟจากการไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นวันหยุดหรือช่วงเวลาที่ไฟฟ้าการไฟฟ้าราคาถูกก็จะปล่อยให้มีการชาร์ตไฟฟ้าให้เต็มในแบตเตอรี่ได้ด้วย เป็นต้น)
  3. เป็นระบบไฟสำรอง ทำให้บ้านยังคงมีไฟฟ้าใช้ แม้เกิดไฟดับ

ข้อเสีย

  1. การติดตั้งโซล่าเซลล์ ไฮบริด มีอุปกรณ์มากกว่าระบบอื่น และมีความซับซ้อน ใช้เงินลงทุนและมีค่าซ่อมบำรุงสูง
  2. อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากการไฟฟ้ายังมีน้อยและราคายังค่อนข้างสูง

    Ref:

    1. https://www.cleanenergyreviews.info/blog/2014/5/4/how-solar-works
    2. https://www.solarhub.co.th/solar-information/solar-format/312-ongrid-solarcell
    3. https://solarcellthailand96.com/design-calculator/on-grid-system-small-home/


อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์มีแบบไหนบ้าง?

อินเวอร์เตอร์ก็เหมือนกับสมองในระบบโซลาร์เซลล์ มาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยกันได้เลยที่นี่ !

อุปกรณ์สำคัญสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ขาดไม่ได้เลย คือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เป็นอุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถจ่ายไฟใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่อยู่ในบ้านหรืออาคารของท่านได้ปลอดภัย

กริดไทน์อินเวอร์เตอร์ (Grid Tile Inverter) หรือ ออนกริดอินเวอร์เตอร์ (On Grid Inverter)  มีหน้าที่ในการแปลงพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ให้กลายมาเป็นไฟที่สามารถทำการจ่ายเข้าสู่ตัวบ้านหรืออาคารได้ โดยเชื่อมเข้ากับไฟของการไฟฟ้า หากช่วงแดดอ่อนหรือไม่มีแสงแดด อินเวอร์เตอร์จะปรับไปใช้ไฟจากการไฟฟ้ามาจ่ายแทนโดยอัตโนมัติ 

ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถนำมาใช้ได้กับทั้งระบบออนกริดและออฟกริด หลักการทำงานเหมือนกริดไทน์อินเวอร์เตอร์ แตกต่างที่ติดตั้งกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 1 ตัวต่อ 1 แผง และเอาท์พุท (Output ) ที่ออกมาจากอินเวอร์เตอร์ชนิดนี้จะเป็นไฟฟ้าแบบ AC ที่สามารถนำไปต่อใช้งานได้เลย

 

เพียวไซน์เวฟอินเวอร์เตอร์ (Pure Sine Wave Inverter) เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยแปลงกระแสไฟจากแบตเตอรี่ให้สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ รวมถึงเหมาะสำหรับสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ว่าอยู่ไกลจากบ้าน โดยสามารถใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายไฟได้ เช่น ร้านขายของ ร้านขายผลไม้ คนที่เดินทางไกลที่ต้องใช้ไฟระหว่างเดินทาง หรือต้องตั้งแคมป์นอนค้างแรม

ไฮบริดอินเวอร์เตอร์ (Hybrid) เป็นอินเวอร์เตอร์ที่นำเอาคุณสมบัติของระบบออนกริดและออฟกริดมาใช้งานรวมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น

ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาแบบไหนได้บ้าง ?

การติดตั้งว่ากันโดยหลักการง่าย แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
1. แบบขั้นยึดกับจุดยึดเดิมของหลังคา (สำหรับหลังคามีน๊อตยึดอยู่แล้ว)

2. แบบเจาะกระเบื้องหลังคา
3. แบบสอดใต้กระเบื้อง

การติดตั้งแผงบนหลังคาประเภทต่างๆ ได้แก่

1.หลังคาซีแพคโมเนีย 
ใช้เทคนิคการสอด โดยจะใช้อุปกรณ์เฉพาะในการสอดเข้าไปใต้กระเบื้อง เพื่อเข้าไปล็อคกับคานหรือจันทัน ดังนั้นจะไม่มีการเจาะหลังคาใดๆ จึงไม่ต้องกังวลเรื่อการรั่วซึมแน่นอน

2.หลังคาเมทัลซีท ใช้การเปลี่ยนน็อต โดยถอดน็อตตัวเก่าบนหลังคาของลูกค้าออก แล้วใช้ขายึดใส่ลงไปแทนน็อตตัวเดิม

 3.หลังคาลอนคู่ ใช้เทคนิคเดียวกันกับเมทัลซีท ตือการเปลี่ยนน็อต โดยถอดน็อตตัวเก่าบนหลังคาออก แล้วใช้ขายึดตัว Z ใส่ลงไปแทนน็อตตัวเดิม

 

 

 

4.บนพื้นปูนหรือบนดานฟ้า ใช้การต่อโครงสร้างเหล็กเพื่อวางแผง และใช้โครงสร้างเหล็กทำเป็นฐานรองรับแผงโซล่าเซลล์

 5.บนพื้นปูดิน ใช้เทคนิคการเดียวกับบนพื้นปูนต่อโครงสร้างเหล็กเพื่อวางแผง ยึดกับพื้นที่ราบ

สรุป: หลังคาทุกประเภทสามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้

เพราะหลังคาเป็นส่วนที่รับแรงน้อยมาก จุดรับแรงที่แท้จริงก็คือ ตัวแปรหลังคาที่อยู่ภายใน ซึ่งจากผลตรวจสอบเป็นประจำมีดังนี้

- หลังคาอายุไม่เกิน 10 ปี มักไม่ค่อยมีปัญหา

- หลังคาที่ต้องตรวจสอบมากๆ คือแปไม้

- เช็คโครงสร้างภายใต้หลังคาว่าอยู่ในสภาพที่ดี โครงสร้างที่แย่ จะส่งผลต่อกระเบื้องหลังคาได้ด้วย หลังคาเรียงกันเป็นคลื่น ไม่สม่ำเสมอ ตัวกระเบื้องแตกเป็นรอย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าโครงสร้างที่รองรับมีปัญหา

- หลังคา Metal sheet มักไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากอายุการใช้งานยังไม่เยอะ และตัวแผ่น Metal sheet ค่อนข้างเบา

- อุปกรณ์แผงโซล่าที่ติดตั้งบนหลังคา จะมีโหลดประมาณ 10kg ต่อตารางเมตร

 

การพิจารณา ดูโครงสร้างเป็นหลักสำคัญว่ารับแรงได้หรือไม่ จะต้องตรวจสอบโดยวิศวกรโครงสร้างเท่านั้น ถึงจะแน่ใจว่าติดตั้งได้จริง

CR.http://www.extra-solar.com/b/59

Visitors: 42,528